เครื่องชง(และอุปกรณ์)นั้น สำคัญไฉน

13 กันยายน 2011 in ชงกาแฟ, ชงและชิม

Espresso Machine

จะชงกาแฟทั้งทีมันก็ต้องมีเครื่องชง จริงมั๊ยครับ  กาแฟที่ดีก็ต้องชงมาจากเครื่องชงที่ดีด้วย ถึงจะอร่อย  นอกจากจะมีเครื่องชงกาแฟที่ดีแล้ว บาริสต้าที่ดีต้องรู้วิธีการใช้งานเครื่องชง รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆที่ถูกต้องด้วย  เปรียบเหมือนทหารที่ใช้ปืน ยังต้องมีกระสุน มีกล้องเล็ง มีอุปกรณ์ทำความสะอาด  และที่สำคัญ ก็ต้องรู้วิธีใช้อุปกรณ์ทุกตัวด้วย

โดยปกติเวลาซื้อเครื่องชงกาแฟนั้น ในกล่องจะแถมอุปกรณ์หลายอย่างมาให้ด้วย นั่นก็คือ

  1. Portafilter หรือก้านชงกาแฟ ไอ่ที่เป็นกลมๆ มีด้ามจับ ไว้ใส่เครื่องตอนชง
  2. Filter Basket หรือ ตะกร้าฟิลเตอร์ เอาใส่ข้างใน Portafilter อีกทีนึง มีหลายขนาด แต่แบ่งได้ 2 ประเภทคือ แบบ Single และ แบบ Double
  3. Blind Filter บางยี่ห้ออาจเป็นแผ่นยางดำๆ หรืออาจเป็น Filter Basket ไปเลย แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ ไม่มีรูให้น้ำผ่าน ใช้สำหรับล้างหัวชงกาแฟ
  4. คู่มือ บางยี่ห้อมีรายละเอียดเยอะ บางยี่ห้อมีรายละเอียดน้อย ช่างมัน ไม่เกี่ยวกับเรา เหอเหอ

แต่แค่นี้เรายังชงกาแฟไม่ได้หรอกครับ เพราะเรายังไม่มีเครื่องบดเมล็ดกาแฟ (เว้นแต่ว่าเราจะซื้อเครื่องชงกาแฟที่มีเครื่องบดในตัวอ่านะ)   เครื่องบดมันก็มีอีกหลายแบบ ทั้งแบบใช้ไฟฟ้าและมือหมุน  แต่ไม่ว่าจะใช้เครื่องบดแบบไหน ข้อสำคัญคือเราต้องรู้ว่าจะบดกาแฟละเอียดขนาดไหน แล้วตั้งค่าเครื่องบดให้ถูกต้องตามที่เราต้องการ และต้องทำความสะอาดเครื่องบดครั้งใหญ่อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

อุปกรณ์ตัวต่อไป เป็นอุปกรณ์ที่เราเห็นจนชินตามาก และก็เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากเช่นกัน นั่นก็คือ ผ้าเช็ดมือ ครับ หลายคนอาจถามว่าผ้าเช็ดมือมันสำคัญตรงไหน ผมก็จะถามกลับว่า “ไม่มีผ้าเช็ดมือ แล้วจะเอาอะไรเช็ด?”   ในสถานที่ชงกาแฟของเรา ต้องมีผ้าเช็ดมือประจำการอยู่อย่างน้อย 3 ผืน

  1. ผ้าเช็ด Portafilter   ผ้าผืนนี้มีความสำคัญสูงสุด เพราะใช้เช็ดอุปกรณ์ที่ต้องสัมผัสกับผงกาแฟโดยตรง   ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ควรใช้ผ้าอื่นๆ เช็ด Portafilter นอกจากเจ้านี่
  2. ผ้าเช็ดก้านสตีมนม   ผ้าผืนนี้ก็มีความสำคัญพอๆ กับผ้าเช็ดPortafilter เนื่องจากต้องสำผัสกับน้ำนมโดยตรง   แต่ผ้าทั้งสองผืนที่กล่าวมานี้ไม่สามารถนำมาใช้แทนกันได้ เพราะหากใช้สลับกันสะเปะสะปะ กาแฟที่ชงออกมา แม้จะไม่ได้ใส่นม แต่ก็จะมีกลิ่นนมติดอยู่(ปัญหาคือเป็นกลิ่นนมบูดด้วย)   แม้ลูกค้าไม่รู้ แต่อย่าลืมว่าเราทำของกิน เอานมบูดให้ลูกค้ากินมันบาปนะครับ   ที่สำคัญ “เวลาอยู่ในการแข่งขัน ถูกตัดคะแนนนะครับ”
  3. ผ้าสุดท้าย ผ้าเช็ดจิปาถะครับ   เช็ดเครื่องชง เช็ดเครื่องบด เช็ดนั่นเช็ดนี่   แต่อย่าเอาไปเช็ดพื้นล่ะ   ที่ต้องแยกออกมาเพราะมันถูกเอาไปเช็ดสารพัดเช็ดนั่นแหละ จะเอามาเช็ดอุปกรณ์ที่สัมผัสของกินโดยตรง มันก็…

อุปกรณ์สำคัญสำหรับการสตีมนม   Pitcher ครับ ภาษาไทยเค้าเรียกว่าเหยือกใส่นม(เห็นว่างั้น)   ทำมาจากสแตนเลส มีหลายขนาด หลายรูปแบบ   ขนาดที่ควรมีติดร้านคือ 300 cc สำหรับทำคาปูชิโน่ หรืออะไรก็ตามที่แก้วเล็ก และขนาด 600 cc สำหรับทำลาเต้ หรืออะไรก็ตามที่แก้วใหญ่   ที่บอกว่ามีหลายรูปแบบ เพราะยังสามารถแบ่งเป็นพิตเชอร์สำหรับเทลาเต้อาร์ตแบบต่างๆ   รวมถึงรูปร่างลักษณะที่เหมาะสมสำหรับก้านสตีมแบบต่างๆ อีกด้วย

อุปกรณ์สุดท้าย คือพวก ขวด แก้ว ช้อน ชาม กะละมัง หม้อ ไห ตะไหล ป๊าด อุปกรณ์อื่นๆเบ็ดเตล็ดที่เรามี   อันนี้ไม่ได้ยึดติดว่าจะต้องเป็นอะไรแบบไหน แต่ข้อสำคัญก็คือ “ความสะอาด” ครับ

จะสังเกตุเห็นว่า ไม่ว่าอุปกรณ์ตัวไหน ผมจะให้ความสำคัญกับ “ความสะอาด” เป็นอันดับหนึ่งเสมอ   เราต้องไม่ลืมว่ากาแฟคือของกิน  ของสกปรกใครก็ไม่อยากกินใช่ไหมครับ  อร่อยให้ตายยังไงถ้าไม่มีความสะอาดก็บอกลาลูกค้าได้เลย   อย่าลืมคำขวัญของกระทรวงสาธารณสุขนะครับ “Clean Food Good Taste

ขอบคุณรูปสวยๆจาก automaticespressomakernow.net

Tags: , , , , , , ,

13 กันยายน 2011 ชงกาแฟ, ชงและชิม

No comments yet.

Leave a comment

คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น